วิชาพืชอาหารสัตว์ 1-3-2 (Forage Crops)
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546 ประเภทวิชาเกษตรกรรม
สาขาวิชาสัตวศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
จุดประสงค์รายวิชา เพื่อให้
1. เข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับพืชอาหารสัตว์ หลักการและกระบวนการผลิตพืชอาหารสัตว์
2. สามารถวางแผน เตรียมการ และดำเนินการผลิตพืชอาหารสัตว์ตามหลักการและกระบวนการ
โดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและผลกระทบต่อระบบนิเวศ
3. มีเจตคติและกิจนิสัยที่ดีต่อการผลิตพืชอาหารสัตว์ ทำงานด้วยความรับผิดชอบ รอบคอบ ขยัน
อดทนและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น
สมรรถนะรายวิชา
1. แสดงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพืชอาหารสัตว์ หลักการและกระบวนการผลิตพืชอาหารสัตว์
2. วางแผนการผลิตพืชอาหารสัตว์ตามความต้องการและสภาพพื้นที่
3. เตรียมพื้นที่ เครื่องมืออุปกรณ์และพันธุ์พืชอาหารสัตว์ตามหลักการและกระบวนการ
4. ปลูก ดูแลรักษาพืชอาหารสัตว์ตามหลักการกระบวนการ
5. เก็บเกี่ยวและจัดการหลังการเก็บเกี่ยวพืชอาหารสัตว์ตามหลักการและกระบวนการ
6. บันทึกข้อมูล จัดจำหน่ายและทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับความสำคัญ การตลาดและสภาวการณ์การผลิตพืชอาหารสัตว์ ชนิดและ
พันธุ์ของพืชอาหารสัตว์ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตพืชอาหารสัตว์ การวางแผนการผลิตการเตรียมพันธุ์
การปลูกและการปฏิบัติดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษาและการ
นำไปใช้ประโยชน์ การใช้เทคโนโลยี และสารสนเทศในการจัดการผลผลิต บันทึกข้อมูล การจัดจำหน่าย
และทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
- Teacher: ประสิทธิ์ ใยเพ็ชร
- Teacher: นวรัตน์ เพ็ชรปานกัน
- Teacher: สมศักดิ์ เพ็ชรปานกัน
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับ ความสำคัญของการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ หลักพันธุศาสตร์เบื้องต้น การถ่ายทอดลักษณะเชิงคุณภาพและปริมาณ การประยุกต์ใช้อัตราพันธุกรรมและอัตราซ้ำ คุณค่าการผสมพันธุ์ ลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจในสัตว์เลี้ยง การคัดเลือกพันธุ์ ระบบการผสมพันธุ์ การบันทึกและการทำพันธุ์ประวัติ ปัญหาและอุปสรรคในการปรับปรุงพันธุ์สัตว์
- Teacher: สมพร เกตุผาสุข
จุดประสงค์รายวิชา เพื่อให้
1. เข้าใจหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับสุกร การตลาด สภาวการณ์ และกระบวนการเลี้ยงสุกร
2. สามารถวางแผน เตรียมการและดำเนินการเลี้ยงสุกรตามหลักการและกระบวนการโดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอยางคุ้มค่าและผลกระทบต่อระบบนิเวศ
3. มีเจตคติและกิจนิสัยที่ีดีต่อการเลี้ยงสุกร ทำงานด้วยความรับผิดชอบ รอบคอบ ขยัน อดทนและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น
สมรรถนะรายวิชา
1. แสดงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความสำคัญ ตลาดและสภาวการณ์ของการเลี้ยงสุกรมาตรฐานฟาร์มสุกร ประเภทและพันธุ์สุกร หลักการและกระบวนการเลี้ยงสุกร
2. วางแผนการเลี้ยงสุกรตามความต้องการของตลาดและสภาพพื้นที่
3. เตรียมพันธุ์ และอาหารสำหรับการเลี้ยงสุกรตามหลักการและกระบวนการ
4. เตรียมโรงเรือน อุปกรณ์ ตามมาตรฐานฟาร์มสุกร
5. เลี้ยงสุกร จัดการระบบสุขาภิบาลสุกร ตามหลักการและกระบวนการ
6. จัดการผลผลิตสุกรตามหลักการและกระบวนการ
7. จำหน่าย ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย และวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน
คําอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับความสำคัญ การตลาดและสภาวการณ์ของการเลี้ยงสุกรมาตรฐานฟาร์มสุกร ประเภทและพันธุ์สุกร ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสุกรโรงเรือนและอุปกรณ์ อาหารและการให้อาหาร การวางแผนการเลี้ยงสุกร การจัดการเลี้ยงดูสุกรระยะต่าง ๆ การจัดการสุขาภิบาลและของเสียในฟาร์ม โรคและการป้องกัน การบันทึกข้อมูลงานฟาร์ม การใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศในการจัดการผลผลิตบันทึกข้อมูล การจัดจำหน่ายและทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย และวิเคราะห์ผลการดำเนินงานฟาร์มสุกร
- Teacher: จุฑารัตน์ ศรีสวัสดิ์
วิชาหลักการเลี้ยงสัตว์(Principles of Animals Husbandry )
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้เข้าใจหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับสัตว์และการเลี้ยงสัตว์
2. เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานพื้นฐานเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ตามขั้นตอนกระบวนการ
3. เลือกและใช้โรงเรือน- อุปกรณ์ในการเลี้ยงสัตว์ โดยคำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
4. เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่องานเลี้ยงสัตว์ และมีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความรอบคอบ ปลอดภัย มีวินัย ขยันและอดทน
มาตรฐานรายวิชา
1. เข้าใจหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับสัตว์และการเลี้ยงสัตว์
2. วางผังฟาร์มเลี้ยงสัตว์ตามหลักการเลี้ยงสัตว์แต่ละชนิด
3. เลือก/ใช้โรงเรือน อุปกรณ์ และอาหารสำหรับสัตว์แต่ละชนิดตามหลักการและกระบวนการ
4. จัดการเลี้ยงสัตว์เบื้องต้นตามหลักการและกระบวนการ
- Teacher: กานต์ชนิต ร่มโพธิ์ชี
🎯 คำอธิบายรายวิชาศึกษาและฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับ สถิติพื้นฐาน การประมาณค่า การทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูล และการวางแผนการทดลอง และการประยุกต์ใช้ในงานอาชีพ
- Teacher: นวรัตน์ เพ็ชรปานกัน
- Teacher: สมศักดิ์ เพ็ชรปานกัน